หน้าแรก > ข่าวและกิจกรรม
ผู้เชี่ยวชาญทางชลประทานย้ำ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางอุทกวิทยาในลุ่มน้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง
2024-04-05 12:38

ศาสตราจารย์ เถียน ฟู่เฉียง อาจารย์ภาควิชาชลประทานและวิศวกรรมไฟฟ้าพลังน้ำ มหาวิทยาลัยซิงหัว กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบหย่างหนักต่อสถานการณ์อุทกวิทยาของลุ่มน้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ข้อมูลแสดงให้เห็นว่า ในช่วง 120 ปีที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรุนแรงขึ้นเห็นได้จากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น   เกิดความแห้งแล้งรุนแรงขึ้น

ศ.เถียน ฟู่เฉียง กล่าวว่า “มีเหตุการณ์ภัยแล้งที่เห็นชัดเพิ่มขึ้น ในทศวรรษระหว่างปี 2010  ถึง 2020 เช่น ภัยแล้งรุนแรงในปี 2016 และช่วงปี 2019 - 2020 มีสาเหตุหลักมาจากปรากฏการณ์เอลนีโญ มากกว่าปัจจัยอื่น ๆ เช่น การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ” 

ข้อสรุปของเขา  มาจากผลการศึกษาระยะแรกของโครการ "การวิจัยร่วมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอุทกวิทยาและยุทธศาสตร์การปรับตัวในลุ่มน้ำล้านช้าง-แม่โขง" ซึ่งดำเนินการร่วมกันโดยศูนย์ความร่วมมือทรัพยากรน้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง และสำนักเลขาธิการ คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง 

ทีมวิจัยใช้ดัชนีปริมาณฝนมาตรฐาน (SPI) ดัชนีการระเหยของฝนมาตรฐาน (SPEI) และดัชนีน้ำผิวดินมาตรฐาน (SRI) ตัวบ่งชี้เหล่านี้ได้คำนวณตามชุดข้อมูล CRU TS  ERA5-LAND และ CHIRPS เพื่อทำการวิเคราะห์ภัยแล้ง

รายงานทางเทคนิคระยะแรกซึ่งจัดทำในเดือนสิงหาคม ปี 2023 ได้วิเคราะห์แนวโน้ม ความถี่ ความรุนแรง ระยะเวลาของภัยแล้ง ผ่านทางข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยา และวิเคราะห์ผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนีโญในระยะยาว สรุปว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีผลกระทบอย่างหนักต่อพื้นที่ลุ่มน้ำดังกล่าว

รายงานชี้ให้เห็นว่า ระหว่างปี 2000-2009 และ 2010-2020 การวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงความถี่ของภัยแล้งทางอุตุนิยมวิทยา (ค่าดัชนีน้ำผิวดินมาตรฐาน หรือ SPI ที่ได้รับจากข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาCHIRPS)  และสถานการณ์อุทกวิทยาในภูมิภาค ( ค่าดัชนีน้ำผิวดินมาตรฐาน หรือ SRI ที่ได้รับโดยใช้การวิเคราะห์แบบจำลองVIC) แสดงให้เห็นว่า มีความคล้ายคลึงกันในการเปลี่ยนแปลงความถี่ของภัยแล้งด้านอุตุนิยมวิทยาและอุทกวิทยาในลุ่มน้ำโขง ความแห้งแล้งด้านอุตุนิยมวิทยาในลุ่มน้ำล้านช้าง-แม่โขงเกิดจากเอลนีโญ และความรุนแรงของปรากฏการณ์นี้ เป็นตัวบ่งชี้ถึงความรุนแรงของภัยแล้งด้านอุตุนิยมวิทยาทั่วทั้งลุ่มน้ำที่แม่นยำ

ศ.เถียน ฟู่เฉียง กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก และผลที่ตามมาคือภัยแล้งและอุทกภัยที่รุนแรงยิ่งขึ้น จะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอุทกวิทยาในลุ่มน้ำเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ให้ประเทศลุ่มน้ำนี้จะแบ่งปันข้อมูลอุตุนิยมวิทยาและอุทกวิทยาให้มากขึ้น

เขากล่าวว่า แพลตฟอร์มแบ่งปันข้อมูลภายใต้กรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง เป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมกระบวนการนี้ นอกเหนือจากปัจจัยทางธรรมชาติ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กิจกรรมของมนุษย์ เช่น การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและการจัดการทรัพยากรน้ำ ประกอบกับปัจจัยธรรมชาติที่ส่งผลต่อปริมาณน้ำทั้งหมด ระยะเวลามีน้ำ และการกระจายน้ำในลุ่มน้ำ :  “การเปลี่ยนแปลงทางอุทกวิทยาเกิดขึ้นอยู่เสมอ และปัจจัยหลักแตกต่างกันไปตามเวลาและพื้นที่ ซึ่งจำเป็นต้องวิเคราะห์ตามสภาพการณ์” เถียน ฟู่เฉียง ชี้ให้เห็นว่า ควรวิเคราะห์ผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างถูกต้อง ดำเนินมาตรการการบรรเทาและเตรียมพร้อมการปรับตัว นอกจากนี้ยังขอให้ประเทศล้านช้าง-แม่โขงเสริมสร้างการประสานงานและความร่วมมือบนพื้นฐานการใช้ประโยชน์น้ำอย่างยุติธรรมและสมเหตุสมผล เพื่อร่วมกันรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อแหล่งน้ำ


Suggest to a friend:   
Print