หน้าแรก > ข่าวและกิจกรรม
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำภายใต้กรอบล้านช้าง-แม่โขงแสดงถึงความสามัคคีในระดับภูมิภาค
2024-04-05 12:33

เมื่อโลกเผชิญกับความท้าทายด้านสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงที่ทวีความรุนแรงขึ้น ประเทศกลุ่มล้านช้าง-แม่น้ำโขงทั้ง 6 ประเทศ คือ จีน เมียนมา ลาว ไทย กัมพูชา ( Lancang-Mekong Cooperation หรือ LMC )  จึงร่วมกันเพื่อจัดการกับความท้าทายด้านทรัพยากรน้ำ และส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน

ศาสตราจารย์ ซ่ง ชิงรุ่น  จากมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่ง กล่าวว่าน้ำเป็นแหล่งกำเนิดของชีวิต แม่น้ำ ล้านช้าง-แม่โขงเป็นแม่น้ำที่สำคัญในภูมิภาค และความร่วมมือของล้านช้าง-แม่โขงเกิดขึ้นเพราะน้ำ . หกประเทศที่เข้าร่วมในความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรน้ำ และเห็นถึงความสำคัญของความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ จึงได้ส่งเสริมความระหว่างประเทศในแถบลุ่มน้ำล้านช้าง-แม่โขง

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำภายในกรอบล้านช้าง-แม่โขงมีความก้าวหน้าอย่างมาก รายงาน "แผนปฏิบัติการ 5 ปีสำหรับความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำล้านช้าง-แม่โขง ( 2018-2022 ) " แสดงให้เห็นว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ได้สร้างกลไกความร่วมมือที่ค่อนข้างสมบูรณ์ในขั้นต้น และได้ร่วมแบ่งปันข้อมูลในระดับหนึ่ง  ความสามารถในการบริหารจัดการน้ำของ 6 ประเทศได้รับการปรับปรุง ความร่วมมือที่นำเสนอโดย "ปฏิบัติการน้ำพุหวานชุ่มคอ" เป็นประโยชน์ต่อประชาชนในท้องถิ่นจำนวนมาก สร้างการมีส่วนร่วมและความเข้าใจของประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ตามแผนปฏิบัติการห้าปีสำหรับความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำล้านช้าง-แม่โขง ( 2018-2022 ) หกประเทศที่เข้าร่วมในความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขงเห็นพ้องที่จะปรับปรุงกรอบความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำล้านช้าง-แม่โขง และจะดำเนินตามแผนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำล้านช้าง-แม่โขงต่อไป จัดการประชุมระดับรัฐมนตรีความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำและฟอรั่มความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำล้านช้าง-แม่โขง ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือในการกำกับดูแลทั่วทั้งลุ่มน้ำ เช่น การพัฒนาและการใช้ทรัพยากรน้ำที่ยั่งยืน ข้อมูลอุทกวิทยา ป้องกันและลดผลกระทบภัยพิบัติ รวมถึงการฝึกอบรมบุคลากร ฯลฯ

ศาสตราจารย์ซ่ง ชิงรุ่น กล่าวว่า การนี้ไม่เพียงชี้ให้เห็นทิศทางการพัฒนาในด้านความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำทั้งหมดในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า แต่ยังกำหนดเนื้อหา มาตรการ หรือโครงการความร่วมมือที่สำคัญบางประการ ซึ่งจะส่งเสริมความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำทั้งหมดไปสู่ระดับใหม่  ให้ทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำทั้งหมดเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ปรับปรุงการดำรงชีวิตของผู้คนในประเทศลุ่มน้ำได้ดีขึ้น และเป็นกรณีศึกษาสำหรับทั่วโลกโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีทรัพยากรแหล่งน้ำที่คล้ายคลึงกัน

นายกรัฐมนตรีจีน หลี่ เฉียง เข้าร่วมการประชุมผู้นำความร่วมมือล้านช้าง-แม่น้ำโขง ครั้งที่ 4 ผ่านวิดีโอในบ่ายวันที่  25 ธันวาคม 2023  โดยเสนอการส่งเสริมความร่วมมือสีเขียว เคารพสิทธิและผลประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมายของทุกประเทศเพื่อการพัฒนาและใช้ประโยชน์ทรัพยากรน้ำอย่างเหมาะสม  คำนึงถึงผลประโยชน์สำคัญของกันและกัน เขากล่าวว่า จีนยินดีหาวิธีความร่วมมือกับประเทศอื่นๆ บริหารลุ่มน้ำล้านช้าง-แม่โขงทั้งหมด ส่งเสริมความร่วมมืออย่างจริงจังในการเปลี่ยนแปลงพลังงานแบบสีเขียว และการคุ้มครองระบบนิเวศ 

ซ่ง ชิงรุ่น  ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า “ในอนาคต ประเทศล้านช้าง-แม่น้ำโขงทั้ง 6 ประเทศ จะสามารถเพิ่มความเข้าใจและขจัดข้อสงสัย คุ้มครองและตอบสนองต่อข้อกังวลที่สมเหตุสมผลของกันและกันเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน เสริมสร้างการประสานงานด้านนโยบายระหว่างกัน  เพิ่มขีดความสามารถที่เกี่ยวข้องในประเทศลุ่มน้ำ    ให้การใช้แหล่งน้ำล้านช้าง-แม่โขงอย่างเท่าเทียมกันและยั่งยืน” 

จีนเตรียมเริ่มแบ่งปันข้อมูลอุทกวิทยาประจำปีของแม่น้ำล้านช้างกับประเทศลุ่มแม่น้ำโขงในปี 2020 และร่วมกันสร้างแพลตฟอร์มแบ่งปันข้อมูลความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ซ่ง ชิงรุ่นเชื่อว่า มาตรการเหล่านี้ ได้ผลักดันความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำอีกระดับ เอื้อต่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ น้ำท่วม ภัยแล้ง รวมถึงภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศลุ่มน้ำ เอื้อต่อประเทศต้นน้ำ-ปลายน้ำในลุ่มน้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง เพิ่มความเข้าใจกันและแก้ไขข้อสงสัย

เมื่อมองไปสู่อนาคต ซ่ง ชิงรุ่น เล็งเห็นโอกาสอันดีของความร่วมมือล้านช้าง-แม่น้ำโขง เขาเชื่อว่า ในขณะที่ความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง จะสามารถก้าวจากช่วงการขยายตัวอย่างรวดเร็วไปสู่ช่วงการพัฒนาที่รอบด้าน ความร่วมมือจะไม่เพียงแต่แก้ปัญหาทรัพยากรน้ำเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับความมั่นคงที่พัฒนาจากดั้งเดิม การพัฒนาสีเขียว นวัตกรรมทางเทคโนโลยี และด้านต่าง ๆ พร้อมไปกับความร่วมมือรอบด้านระหว่าง 6 ประเทศลงลึกยิ่งขึ้น ความร่วมมือล้านช้าง-แม่น้ำโขง  จะกลายเป็น "ต้นแบบสีทอง" สำหรับความร่วมมือระดับอนุภูมิภาคมากขึ้นต่อเนื่อง


Suggest to a friend:   
Print