หน้าแรก > ข่าวและกิจกรรม
ปฏิบัติการ “พื้นที่ชุ่มน้ำ” เกิดขึ้นในภูมิภาคล้านช้าง-แม่น้ำโขง
2024-03-24 12:00

ในปี 2021 โครงการนำร่องแหล่งน้ำที่ริเริ่มโดยจีน ได้เริ่มขึ้นที่ไหมู่บ้านบ้านหาดกีบ เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นกว่า 2,000 คนมีน้ำดื่มที่สะอาดปลอดภัย ก่อนหน้านี้หมู่บ้านนี้ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ มีอาการท้องเสีย อาเจียน และโรคอื่นๆ ที่เกิดจากน้ำดื่มที่ไม่ถูกสุขลักษณะ

จากการสำรวจท้องถิ่นพบว่า ชาวบ้านในพื้นที่มากกว่า 92% เห็นว่าการดำเนินโครงการนี้มีความจำเป็นมาก ผู้นำหมู่บ้านหาดกับยังกล่าวถึงบทบาทสำคัญของความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำในพื้นที่ล้านช้าง-แม่น้ำโขง และความเชื่อมั่นจากประเทศจีนที่ช่วยดำเนินโครงการดังกล่าว

โครงการนำร่องแหล่งน้ำในหมู่บ้านหาดกีบ เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของการดำเนินโครงการ ปฏิบัติการพื้นที่ชุ่มน้ำล้านช้าง-แม่โขง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำในกลไกความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง

นายโจว จื้อเหว่ย ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือทรัพยากรน้ำล้านช้าง-แม่โขง กล่าวว่า ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำล้านช้าง-แม่โขง มีความสำคัญอันดับต้น ๆ โครงการนี้ประสบความสำเร็จอย่างชัดเจน 

ประการแรก กรอบการทำงานกำลังพัฒนาต่อเนื่องปัจจุบัน มีการจัดประชุมระดับรัฐมนตรี 1 ครั้ง การประชุมความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ 3 ครั้ง การประชุมคณะทำงานร่วมความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำล้านช้าง-แม่โขง 4 ครั้ง และการประชุมพิเศษ 16 ครั้ง  นำไปสู่ความก้าวหน้าครั้งสำคัญของความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำล้านช้าง-แม่โขง 

ประการที่สอง ความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมประสบผลสำเร็จ ด้วยเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลจีน โครงการสาธิตที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตมากกว่า 50 โครงการ ได้ถูกนำมาใช้ใน 5 ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ครอบคลุมถึงความปลอดภัยของแหล่งน้ำในชนบท การจัดการลุ่มน้ำขนาดเล็กที่สะอาด การติดตามความปลอดภัยของเขื่อน การติดตามทางอุทกวิทยา และงานต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อคนในท้องถิ่นจำนวนมาก   ตัวอย่างเช่น ตั้งแต่ปี 2020  ถึง 2022  ระยะแรกของ "ปฏิบัติการพื้นที่ชุ่มน้ำ" ได้ดำเนินการในประเทศลาว กัมพูชา และเมียนมา โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น บุกเบิกแหล่งน้ำ การเก็บน้ำฝน การกรองน้ำให้สะอาด  และแหล่งน้ำที่ยังไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ ฯลฯ

ตาม "รายงานการประเมินผลการปฏิบัติงานของแผนปฏิบัติการห้าปีสำหรับความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำล้านช้าง-แม่โขง (2018-2022)"   จนถึงปี 2022 "งวดแรกของปฏิบัติการพื้นที่ชุ่มน้ำ" ได้สร้างพื้นที่โครงการสาธิตการจัดหาน้ำ 8-9 แห่ง และได้สร้างโครงการสาธิตน้ำประปาเพื่อการแบ่งปัน 54 โครงการ  เป็นประโยชน์ต่อประชาชนกว่า 1 หมื่นคน

เพื่อประสานงานและส่งเสริมความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำในภูมิภาคดียิ่งขึ้น หกประเทศจึงร่วมกันจัดทำ "แผนปฏิบัติการห้าปีความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำล้านช้าง-แม่โขง (2023-2027)" ฉบับใหม่ในปลายปี 2023 เพื่อส่งเสริมการใช้ การบริหารและการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน  

ผอ.ศูนย์ความร่วมมือทรัพยากรน้ำล้านช้าง-แม่โขง ยังกล่าวว่าแผนปฏิบัติการใหม่ จะเป็นแนวทางให้กับประเทศล้านช้าง-แม่โขงร่วมกันตอบสนองต่อความท้าทายด้านทรัพยากรน้ำที่ทวีความรุนแรงขึ้นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก  ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำล้านช้าง-แม่โขง จะเสริมสร้างการประสานงานและความร่วมมือในระดับลุ่มน้ำ ผนึกจุดแข็งของทุกฝ่าย ประสานงานแก้ปัญหาภัยพิบัติทางน้ำ จัดการทรัพยากรน้ำ สภาพแวดล้อมทางน้ำ และปัญหาระบบนิเวศทางน้ำ โดยจะส่งเสริม พัฒนาและการใช้ทรัพยากรน้ำให้มีความปลอดภัยสำหรับน้ำดื่มของทุกฝ่ายและดำเนินความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมในด้านอื่น ๆ เพื่อรักษาความมั่นคงทางน้ำ ตลอดจนนำความผาสุกให้กับประชาชนที่อาศัยในลุ่มน้ำล้านช้าง-แม่โขง


Suggest to a friend:   
Print